เงินหยวน ที่หลายฝ่ายมองว่าควรมีบทบาทกับตลาดการเงินโลกมากกว่านี้ ยิ่งในปัจจุบันมีกระแส “ลดการใช้ดอลลาร์สหรัฐ” หรือ De-Dollarization ยิ่งทำให้ตลาดตั้งคำถามว่าควรก้าวขึ้นมาเป็นสกุลเงินหลักได้แล้วหรือไม่ ในอินเดียเริ่มใช้เงินหยวนของจีนแทนดอลลาร์สหรัฐ สำหรับจ่ายค่าน้ำมันนำเข้าจากรัสเซียบางส่วน

เงินหยวน สกุลเงินที่อินเดียจ่ายค่าน้ำมันรัสเซีย

โรงกลั่นน้ำมันต่างๆ ในอินเดียเริ่มใช้เงินหยวนของจีนแทนดอลลาร์สหรัฐ สำหรับจ่ายค่าน้ำมันนำเข้าจากรัสเซียบางส่วน ตามรายงานของรอยเตอร์เมื่อวันจันทร์ (3 ก.ค.) อ้างอิงแหล่งข่าวใกล้ชิดกับประเด็นนี้ ความเคลื่อนไหวมีขึ้นไม่ถึงเดือน หลังจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างปากีสถานก็เพิ่งดำเนินการแบบเดียวกัน

แหล่งข่าวเปิดเผยว่า อินเดีย ออย คอร์ป ผู้ซื้อน้ำมันดิบรัสเซียรายใหญ่ที่สุดของอินเดีย กลายเป็นโรงกลั่นแห่งรัฐเจ้าแรกที่จ่ายค่าจัดซื้อน้ำมันรัสเซียบางส่วนด้วยสกุลเงินหยวนตั้งแต่เดือนที่แล้ว นอกจากนี้ยังมีโรงกลั่นเอกชนอย่างน้อยๆ 2 แห่ง จากทั้งหมด 3 แห่ง ก็ชำระเงินค่าน้ำมันนำเข้าจากรัสเซียด้วยสกุลเงินหยวนเช่นกัน

“โรงกลั่นบางแห่งชำระด้วยสกุลเงินอื่นๆ หากธนาคารไม่มีความตั้งใจรับชำระการค้าด้วยสกุลเงินดอลลาร์” แหล่งข่าวรัฐบาลอินเดียซึ่งไม่ประสงค์เอ่ยนามกล่าว

แหล่งข่าวไม่สามารถระบุได้ว่าโรงกลั่นต่างๆ ของอินเดียใช้ซื้อน้ำมันของรัสเซียมากน้อยแค่ไหน โดยเพียงแต่บอกว่ารัฐวิสาหกิจ อินเดีย ออย ชำระสินค้าหลายรายการด้วยสกุลเงินหยวน

เจ้าหน้าที่อินเดียไม่สนับสนุนมาตรการคว่ำบาตรเล่นงานมอสโก ที่บังคับใช้โดยตะวันตก ในการลงโทษตอบโต้รัสเซียในความขัดแย้งกับยูเครน อย่างไรก็ตาม แม้นิวเดลีตัดสินใจไม่เข้าร่วมในการกำหนดข้อจำกัดต่างๆ เหล่านั้น แต่สถาบันการเงินและธนาคารต่างๆ ของอินเดีย ได้ดำเนินธุรกรรมหักบัญชีการชำระเงินด้วยความระมัดระวัง เพื่อที่จะได้ไม่ละเมิดโดยไม่เจตนาต่อมาตรการคว่ำบาตรอื่นๆ ที่บังคับใช้เล่นงานรัสเซีย

มาตรการจำกัดเพดานราคาน้ำมัน

อียู จี7 และออสเตรเลีย ได้กำหนดมาตรการจำกัดเพดานราคาน้ำมันส่งออกทางทะเลของรัสเซียไว้ที่ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม กลไกนี้ห้ามบรรดาบริษัทตะวันตกให้การรับประกันและบริการอื่นๆ แก่บรรดาเรือทั้งหลายที่ลำเลียงน้ำมันของรัสเซีย จนกว่าสินค้าน้ำมันดิบของรัสเซียเหล่านั้นจะถูกซื้อในราคาเทียบเท่าหรือต่ำกว่าที่กำหนดเอาไว้ 

ต่อมา มาตรการแบบเดียวกันได้บังคับใช้กับการส่งออกปิโตรเลียมของรัสเซียเช่นกันและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มันกำหนดเพดานราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกลั่นที่นำเข้าจากรัสเซียไว้ไม่เกิน 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สำหรับดีเซล และ 45 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง มาตรการต่างๆ เหล่านี้มีเป้าหมายคือตัดทอนรายได้จากพลังงานของมอสโก

รัสเซียเบี่ยงเส้นทางอุปทานไปยังเอเชียและจุดหมายปลายทางอื่นๆ ตอบโต้มาตรการคว่ำบาตร ซึ่งบีบให้มอสโกและบรรดาลูกค้าต้องหันไปหาทางเลือกอื่นแทนดอลลาร์ในการชำระค่าน้ำมัน จากรายงานของรอยเตอร์ระบุว่า โรงกลั่นต่างๆ ของอินเดียได้ชำระเงินค่าน้ำมันรัสเซียบางส่วนในรูปแบบของสกุลเงินดีแรห์มของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เช่นกัน

ส่งออกน้ำมันไปอินเดียสูงสุดเป็นประวัติการณ์

การส่งออกน้ำมันรัสเซียไปยังอินเดีย เพิ่มขึ้น 10 เดือนติดต่อกัน แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์รอบใหม่ในเดือนที่แล้ว อ้างอิงข้อมูลจาก Kpler บริษัทวิเคราะห์สินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งนี้ ในชาติผู้นำเข้าและผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของโลก อินเดีย กำลังฉวยประโยชน์จากน้ำมันที่ลดราคาของรัสเซีย โดยพบว่าการส่งมอบน้ำมันรัสเซียมายังประเทศแห่งนี้เพิ่มขึ้นแตะระดับ 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนมิถุนายน

เมื่อช่วงกลางเดือนมิถุนายน สำนักข่าวรอยเตอร์เพิ่งรายงานว่า ปากีสถานชำระเงินค่าน้ำมันดิบที่ได้รับการส่งมอบชุดแรกจากรัสเซีย ด้วยเงินหยวน อ้างอิงคำกล่าวของ มูซาดิค มาลิก รัฐมนตรีการปิโตรเลียมของปากีสถาน ส่วนหนึ่งในความพยายามลดพึ่งพิงดอลลาร์สหรัฐ

มาลิก ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดด้านราคาหรือส่วนลดในการจัดซื้อครั้งนี้ แต่รายงานของรอยเตอร์ระบุว่า มันเป็นการชำระด้วยสกุลเงินหยวน ซึ่งการทำธุรกรรมด้วยสกุลเงินของจีนถือเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญของปากีสถาน ในด้านนโยบายการชำระเงินขาออก จากเดิมที่ทำธุรกรรมด้วยสกุลเงินดอลลาร์เป็นส่วนใหญ่

เงินหยวน

เงินหยวน กับความท้าทายในการเป็นสกุลเงินหลักของโลก

เหรินหมินปี้ (จีนตัวย่อ: 人民币 ; จีนตัวเต็ม: 人民幣 ; พินอิน: rénmínbì ; ตามตัวอักษรหมายถึง “เงินตราของประชาชน”) เป็นเงินตราอย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน ออกโดย ธนาคารประชาชนแห่งชาติจีน (People’s Bank of China) ซึ่งเป็นหน่วยงานทางด้านเงินตราของ จีนแผ่นดินใหญ่ ตัวย่อใน ISO 4217 คือ CNY

หน่วยเงินพื้นฐานของเหรินหมินปี้ คือ หยวน (yuán) โดยทั่วไปจะเขียนโดยใช้อักษร 元 แต่ตามแบบแผนแล้ว จะใช้ตัวอักษร 圆 เพื่อป้องกันการปลอมแปลง ในบางครั้งชื่อของเงินตรา (เหรินหมินปี้) ก็สับสนกับคำที่ใช้เรียกหน่วยเงิน (หยวน) และในบางโอกาส หยวนก็ถูกเรียกเป็น ดอลลาร์ และคำย่อ RMB¥ บางครั้งก็เขียนเป็น CN$

จีนเป็นประเทศที่มีการค้าระหว่างประเทศสูงที่สุดเป็นอันดับหนึ่งและกำลังจะขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโลกด้านขนาดเศรษฐกิจ ถ้าจะมีสิ่งที่ห่างไกลอันดับหนึ่ง เด่นชัดที่สุดก็คือ “เงินหยวน” ที่หลายฝ่ายมองว่าควรมีบทบาทกับตลาดการเงินโลกมากกว่านี้ ยิ่งในปัจจุบันมีกระแส “ลดการใช้ดอลลาร์สหรัฐ” หรือ De-Dollarization ยิ่งทำให้ตลาดตั้งคำถามว่าควรก้าวขึ้นมาเป็นสกุลเงินหลักได้แล้วหรือไม่  ในโลกการเงินมีหลายประเด็นที่สนับสนุนการใช้เงินหยวน แต่ก็มีข้อจำกัดหลายเรื่องสำหรับการใช้ในวงกว้าง

ข้อจำกัดการใช้เงินหยวน

  • ประเด็นแรกคือเรื่องเศรษฐกิจ แม้ขนาดจะมีความสำคัญมาก แต่แค่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งอาจไม่ได้ยืนยันว่าจะต้องได้เป็นสกุลเงินหลัก

มีการถกเถียงกันมากว่าขนาดเศรษฐกิจของจีนแซงหน้าสหรัฐไปแล้วหรือไม่ และควรได้เวลาที่ทั่วโลกควรเปลี่ยนไปใช้เงินหยวน แต่จากข้อมูลในอดีตด้านขนาดเศรษฐกิจ กว่าที่โลกจะเริ่มเปลี่ยนจากสกุลเงินปอนด์อังกฤษ มาใช้ดอลลาร์ในช่วงราวปี 1945 ขนาดของเศรษฐกิจสหรัฐเติบโตจนมีใหญ่กว่าสหราชอาณาจักรไปแล้วถึง 4.7 เท่า

แม้จะมองย้อนไปก่อนหน้านั้น งานวิจัยของ Eichengreen et al. (2012) ก็ยังพบคำตอบเดิมว่าดอลลาร์ก้าวขึ้นมาเป็นสกุลเงินหลักแทนปอนด์ในช่วงปลายทศวรรษ 1920 หลังจากที่เศรษฐกิจสหรัฐมีขนาดใหญ่กว่าสหราชอาณาจักรถึง 3.5 เท่า ขนาดของเศรษฐกิจจีนตอนนี้จึงไม่ใช่เหตุผลสำคัญที่ทั่วโลกจะต้องหันมาใช้แทนสกุลเงินหลักปัจจุบัน

  • ประเด็นที่สอง คือการเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ การตัดสินใจอาจไม่ได้เกิดจากแค่ความเกี่ยวข้องกันทางเศรษฐกิจ

ความเคลื่อนไหวของเงินหยวนในการก้าวขึ้นมาเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศตั้งแต่ IMF รับเข้าเป็น SDR (Special Drawing Rights) ในปี 2016 แต่สิ่งที่พบคือสัดส่วนเพิ่มขึ้นช้ามากคิดเป็นแค่ราว 0.5% ต่อปี ทำให้สิ้นปี 2022 เงินหยวนมีสัดส่วนเพียง 2.7% ของทุนสำรองระหว่างประเทศทั้งหมด

แม้ในช่วงเดียวกันรายงานของ IMF จะระบุว่าดอลลาร์เสียสถานะทุนสำรองไปกว่า 6% แต่ดูจะมาจากค่าเงินเป็นหลัก ขณะที่การเปลี่ยนสกุลเงินมักอยู่ในรูปยูโรและเยน เนื่องจากเป็นสกุลเงินที่มีสภาพคล่องสูงและเคลื่อนย้ายได้จริงมากกว่าหยวน

นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของเงินสำรองระหว่างประเทศในรูปเงินหยวนยังมาจากเหตุการณ์เฉพาะ เช่น การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วที่สุดในช่วงสงครามรัสเซียยูเครน เมื่อรัสเซียย้ายมาถือ 1/3 ของทุนสำรองระหว่างประเทศหรือราว 1.2 แสนล้านเหรียญ

แม้ช่วงนี้จะมีกระแส BRIC Reserve Currency แต่ต่อให้ประเทศที่เหลืออย่าง อินเดียที่มีทุนสำรองราว 5 แสนล้านดอลลาร์ และบราซิลที่มีทุนสำรองราว 3 แสนล้านดอลลาร์ เปลี่ยนสกุลเงิน 30% มาเป็นหยวนเช่นเดียวกับรัสเซีย การถือเงินหยวนก็น่าจะเพิ่มขึ้นเพียงราว 2-3 แสนล้านเหรียญ คิดเป็นเพียง 2% ของทุนสำรองระหว่างประเทศทั้งหมด และเป็นเพียงเสี้ยวเดียวของทุนสำรองของจีนที่ 3.2 ล้านล้านเหรียญด้วยซ้ำ

  • ประเด็นสุดท้าย คือการเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้าย

ด้วยโครงสร้างทางการเงินของจีนปัจจุบัน มีความท้าทายอย่างมาก และอาจมากเกินกว่าที่จีนจะต้องเสี่ยงโดยไม่จำเป็น เพราะการเปิดเสรีให้เงินทุนเข้าออกอาจไม่ตรงกับเป้าหมายการควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้ายของจีนตั้งแต่แรก ด้วยตลาดบอนด์และหุ้นที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ขณะที่การถือครองของต่างชาติทั้งสองสินทรัพย์อยู่ต่ำกว่า 10% ของมูลค่าตลาด การเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้ายอาจนำไปสู่กระแสเงินทุนไหลเข้า จนแข็งค่าเร็ว ภาคส่งออกอาจปรับตัวไม่ทันก็เป็นได้

ในทางกลับกัน ปริมาณเงินในระบบ (M2) ของจีนก็มีมากถึง 2.25 เท่าของจีดีพี ถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศใหญ่อื่น ๆ เช่นสหรัฐที่ 0.8 เท่าหรือเฉลี่ยประเทศในยุโรปที่ 1เท่า เงินในระบบที่สูงผิดปรกตินี้เองที่เป็นตัวช่วยหนุนเศรษฐกิจจีน หุ้นขนาดเล็ก ไปจนถึงอสังหาริมทรัพย์ของจีนในปัจจุบัน การเปิดเสรีในขณะที่สภาพคล่องสูงกว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจ อาจทำให้เงินหยวนจากคนจีน ไหลออกไปลงทุนต่างประเทศอย่างรวดเร็วและอาจเสี่ยงเกิดวิกฤติอสังหาฯ ซ้ำรอยขึ้นมาอีก

 

สำหรับชาวเอเชียอาจมีทั้งกลุ่มที่อยากและไม่อยากเห็นเงินหยวนก้าวขึ้นเป็นสกุลเงินหลัก และคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในอนาคตสกุลเงินนี้จะมีบทบาทในเวทีโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ดีคำถามแท้จริงอาจไม่ใช่ว่าจะก้าวขึ้นมาแทนที่ดอลลาร์ได้ไหม หรือเมื่อไหร่ แต่อาจต้องถามประเทศจีนด้วยว่า ต้องการให้เงินหยวนขึ้นมาเป็นสกุลเงินหลักของโลก และคุ้มหรือไม่ที่จะแบกรับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ

 

เรื่องรอบโลกอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องรอบโลกได้ที่  nobilissimapartedesopra.com

สนับสนุนโดย  ufabet369